1. สร้างความเข้าใจถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง
การสร้างความเข้าใจถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงให้แก่ทุกคนในองค์กรเปรียบเสมือนการสร้างรากฐานที่ดีให้กับกระบวนการเปลี่ยนแปลงในภาพรวม และทำให้ทุกคนเข้าใจตรงกันถึงเหตุผลในการเปลี่ยนแปลง
2. แบ่งปันวิสัยทิศน์
ขั้นต่อไปคือการแบ่งปันวิสัยทัศน์ให้ทุกคนได้รับรู้ ซึ่งจะเป็นเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นหากกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้สำเร็จ การสื่อสารวิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงให้ทุกคนได้รับรู้จะช่วยในการเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้น
3. มีแผนการที่ชัดเจนและวัดผลได้
เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว การวางแผนที่จะพาไปสู่ความสำเร็จนับเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย ดังนั้นการวางแผนงานและการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบต้องมีความชัดเจน รวมถึงสามารถนำมาประเมินผลได้เพื่อที่จะได้รู้ว่าส่วนไหนที่ควรปรับปรุง
4. ให้ความสำคัญกับการสื่อสาร
การสื่อสารเป็นหัวใจสำคัญในทุกๆ ขั้นตอนของกระบวนการเปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่าจะดูเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่มองข้าม แต่การสื่อสารที่ไม่ชัดเจนอาจเป็นสิ่งที่ส่งผลให้ถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดได้เลย